Monday 21 September 2009

Pecha Kucha* (ペチャクチャ)

*Pecha Kucha เพะชะคุชะ เป็นคำจำลองเสียงพูดคุย (chit-chat) ของชาวญี่ปุ่น ส่วน เพะชะคุชะไนท์ (Pecha Kucha Night) คือค่ำคืนที่ผู้คนจากสารพัดวงการพกพาไอเดียสร้างสรรค์ของตนมาบอกเล่าสู่กัน ฟังอย่างสนุกสนาน ในบรรยากาศแบบปาร์ตี้ ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างคนดังกับโนเนม, มืออาชีพกับมือสมัครเล่น, ผู้ใหญ่กับเด็ก, อาจารย์กับศิษย์, รุ่นเก๋ากับรุ่นใหม่แกะกล่อง ฯลฯ

เป็นงานที่มีแนวคิดเป็นเอกลักษณ์ (ซึ่งผ่านการทดสอบมาแล้วว่าเวิร์ค)
คือ “20x20” อันหมายถึง + การพรีเซนต์ไอเดียจะเริ่มต้นเวลา 20.20 นาฬิกา + มีผู้ขึ้นโชว์ไอเดียบนเวที 20 คน + แต่ละคน จะโชว์ไอเดียผ่านภาพสไลด์ 20 ภาพ + แต่ละภาพ มีเวลาปรากฏตัวบนจอ (โดยเจ้าของไอเดียยืนอธิบายประกอบไปด้วย) ภาพละ 20 วินาที + รวมเวลาเล่าไอเดียของแต่ละคนคือ 6 นาที 40 วินาที เมื่อครบเวลาแล้ว คนต่อไปจะขึ้นมาเล่าผลงานของตนต่อทันที + ผลงานที่ว่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และเป็นงานของตัวคุณเอง เช่น “20 งานออกแบบลายผ้าที่คุณภูมิใจแต่ยังไม่เคยโชว์ใครมาก่อน”, “20 ภาพถ่ายคลื่นทะเลในมุมที่คุณคิดขึ้นเอง”, “20 งานศิลปะที่เคยไปโชว์ต่างประเทศแต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้โชว์ในประเทศไทย”, “20 วิธีที่คุณคิดว่าจะช่วยให้คนไทยใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอย่างมีความสุขมากขึ้น”, “20 ขั้นตอนกว่าจะได้มาซึ่งหนังทดลองเรื่องนี้”, “20 โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่คุณทดลองคิด”, “20 ดีไซน์เก้าอี้ที่คุณสร้างสรรค์ขึ้นและสุดภูมิใจ”, “20 สิ่งประดิษฐ์ที่คุณคิดค้นไว้แต่ยังไม่มีโอกาสพัฒนาให้เป็นของจริง”, “20 ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว”, ฯลฯ โดยไม่จำกัดด้วยว่าจะต้องเป็นงานในแนวทางเดียวกับวิชาชีพตามปกติของคุณ

Pecha Kucha Nights: Guide to Better Presentations Skills
โดย Paul Baron
เรียบเรียงโดย Akapan Thienthaworn

เตรียมตัวให้พร้อม + หัวข้อ / เลือกผลงานที่เคยทำมานำเสนอ แต่อาจไม่จำเป็น บางครั้งผู้ฟังจะสนใจเรื่องที่อยู่นอกเหนือจากงานที่คุณทำ เช่น รูปถ่ายธรรมดาๆ แต่สามารถนำเสนอได้อย่างจับใจ + เล่าเรื่อง / แม้ว่าการนำเสนอผลงานประกอบคำบรรยายภาพจะดูราบรื่น แต่ไม่ควรอธิบายเพียงสิ่งที่อยู่บนจอภาพ ควรพูดถึงที่มาของกระบวนการคิด ปัญหาข้อผิดพลาด และความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ฟังสนใจทั้งงานของคุณและตัวคุณด้วย + ให้เวลาเตรียมตัว / การนำเสนอต้องใช้เวลาเตรียมตัวสิ่งต่างๆอันได้แก่ เลือกหัวข้อ จัดทำสื่อและจัดหาอุปกรณ์ เขียนบทพูด รวมทั้งฝึกจังหวะและความเร็วในการพูด ควรใช้เวลาเตรียมตัวอย่างน้อย 2-3 วัน
วันซ้อม + ฝึกซ้อม / เมื่อทำสื่อเพื่อการนำเสนอเสร็จ ไม่ได้หมายความว่าคุณนั้นพร้อมที่จะนำเสนอ ดังนั้นจงซ้อมจนกระทั่งสามารถควบคุมจังหวะเและวลาได้และไม่รู้สึกเกร็ง - ลองหาหนูทดลองมาฟังคุณซ้อม อาจชวนเพื่อนหรือคนที่ไม่รู้จักมาฟังจะดีมาก - ยืนพูด - ให้ความสำคัญกับลักษณะท่าทางและเสียงพูดของคุณ ดูว่ายังพูดตะกุกตะกัก เกร็ง หรือน่าเบื่อหรือไม่? - ลองจินตนาการว่าอยู่ท่ามกลางผู้ฟังทั้งหลาย ดูว่าคุณรู้สึกสนุกกับการนำเสนอหรือยัง? ถ้ายัง ให้หาวิธีทำอะไรก็ตามให้งานของคุณทำให้คุณตื่นเต้นได้
วันจริง + พูดทักทาย / กล่าว "สวัสดี" แนะนำตนเอง คุณเป็นใคร มาจากไหน จะนำเสนออะไร สั้นๆ + พูดคุย - Pecha Kucha เพะชะคุชะ หมายถึงเสียงพูดคุย (chit-chat) ในภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นทุกๆภาพบนหน้าจอจำเป็นต้องมีคำอธิบาย อย่าหยุดนิ่งเงียบ ผู้ฟังตั้งใจมาฟังคุณ ไม่ได้จะจ้องดูแต่หน้าจอ - พูดดังๆ! ถ้ามีคนฟังหลับ พวกเขาก็จะตื่น ยกเว้นว่าจะมีเสียงบอกให้เบาๆหน่อย - พูดใส่ไมค์ เมื่อคุณเคลื่อนที่ไปมา ไมค์ก็จะตามคุณไป แต่เวลาคุณหันไปอธิบายงาน ไมค์ไม่ได้หันตามคุณ ผู้ฟังจะไม่ได้ยินคุณ - พักหายใจบ้าง ผู้ฟังจำเป็นต้องทำความเข้าใจงานคุณ อย่าพูดเร็วเกินไป เว้นวรรคตอนบ้าง - พูดโดยใช้ภาษาให้ถูกต้องและชัดเจน - ควบคุมการพูดให้ตรงตามภาพ แต่ถ้าพูดไม่ทันหรือรู้สึกอึดอัดเกินไป ควรพักและเริ่มภาพต่อไป + ภาษากาย / ใช้วิธีสนทนากับผู้ฟัง ไม่ใช่ก้มคุยกับรองเท้า ไม่ใช่เงยหน้าคุยกับจอภาพหรือผนัง ไม่ใช่ก้มหน้าดูบท หรือพูดกับผู้ฟังแถวหน้า ยิ้มเข้าไว้ สบตา คุยกับทุกๆคน + อดทน / การบรรยาย 1 ภาพอาจดูสั้น แต่รวมทุกภาพอาจดูนาน น่าเบื่อ ดังนั้นควรให้ความสนใจในทุกๆภาพ + พูดปิดท้าย - กล่าว "ขอบคุณ" - ให้ข้อมูลเพิ่มเติม - สุดท้ายพูดอะไรก็ได้ให้ผู้ฟังประทับใจ

คุณสมบัติของผู้นำเสนอที่ดี
โดย สมิต สัชฌุกร

คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เชื่อถือ และการยอมรับได้มาก เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ ผู้นำเสนอที่ประสพความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. มีบุคลิกดี 2. มีความรู้อย่างถ่องแท้ 3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ 4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 5. มีภาพลักษณ์ที่ดี 6. มีน้ำเสียงชัดเจน 7. มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ 8. มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ 9. มีความช่างสังเกต 10. มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://en.wikipedia.org/wiki/Pecha_Kucha
http://thunska.exteen.com/20061119/pecha-kucha-night-in-bangkok
http://molecularck.com/category/hot-tags/pecha-kucha-night
http://1812.exteen.com/20061120/pecha-kucha-bangkok-vol-1
http://www.tcdc.or.th/downloads/Pecha-Kucha.pdf
http://www.aqworks.com/2007/07/03/pecha-kucha-nights-guide-to-better-presentations-skills
http://www.tpa.or.th/writer

3 comments:

Anonymous said...

“กราฟิกดีไซน์ คืออะไร?” หรือ “นักออกแบบกราฟิกคือใคร?”

คือพวกที่มีจินตนาการสูง เอาอารัยมากมายมาทำเป็นรูป แล้วได้รูปมา ดูแล้วสวยอะ แต่ว่าจะได้มา สักรูปนานๆๆๆๆๆๆๆ กว่าจะทามเส็จ ทำได้ทั้งมือแต่จะทามคอมกันอะ ง่ายอะ

Anonymous said...

“กราฟิกดีไซน์ คืออะไร?” หรือ “นักออกแบบกราฟิกคือใคร?”

คือพวกที่มีจินตนาการสูง เอาอารัยมากมายมาทำเป็นรูป แล้วได้รูปมา ดูแล้วสวยอะ แต่ว่าจะได้มา สักรูปนานๆๆๆๆๆๆๆ กว่าจะทามเส็จ ทำได้ทั้งมือแต่จะทามคอมกันอะ ง่ายอะ

52502430012 พรพีรพล สังข์รัตน์

Anonymous said...

“กราฟิกดีไซน์ คืออะไร?”
งานออกแบบกราฟิกนับได้ว่าเป็นแขนงหนึ่งของศิลปะที่มีความสากลที่สุด กราฟิกดีไซน์จึงหมายถึง งานศิลปะที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายมากในปัจจุบัน ตัวอย่างงานก็เช่น
งานเขียนป้าย งานวาดรูป เขียนภาพต่างๆเป็นต้น


“นักออกแบบกราฟิกคือใคร?”
ทุกคนล้วนเป็นนักออกแบบ”
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ล้วนมีโอกาสในการสร้างงานออกแบบ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ /
ไม่ว่าจะมีทักษะหรือไม่ / มีจุดมุ่งหมายหรือไม่
ทุกคนก็ล้วนเป็นนักออกแบบกราฟิกได้ เช่น การวาดรูปเล่น เขียนป้าย หรือทำอะไรก็ตาม ก็ถือเป็นการทำกราฟิกทั้งนั้น



วรรณนิสา สงค์ทอง
52502430021