Wednesday 7 July 2010

IMTGD 2010 : Somewhere Thai


สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และแพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ

ขอเชิญทุกท่านร่วมส่งผลงานที่นำเสนอหรือสะท้อนความหมาย ภายใต้ประเด็น “Somewhere Thai” โดยสามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้หลากหลายรูปแบบ ผลงานที่ส่งเข้าร่วมจะเป็นสัญลักษณ์ โปสเตอร์ การออกแบบตัวอักษร บรรจุภัณฑ์ ภาพถ่าย ภาพประกอบ ภาพกราฟิก โมชั่นกราฟิก ภาพยนตร์ บทความฯลฯ จะเป็นผลงานเรียน ผลงานจริง หรือเป็นผลงานทดลองก็ได้

โดยจะรวบรวมมาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อนำเสนอในรูปแบบการประชุม IMTGD®Forum ในวันที่ 25 และ 26 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมออดิทอเรี่ยม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตลอด 2 วันเต็ม รวมไปถึงการจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมผลงานและผลงานวิจัยในโครงการนี้

ที่มา: (http://imtgd.org/)

อ่านและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ "Somewhere Thai" ของจุฑาธิป ถิ่นกลาง และบทความ "ความเชยที่ต้องชม" ของพงศ์ธร หิรัญพฤกษ์

Wednesday 9 June 2010

iCARE Award 2010 : ฉลาดแกมดี!
























ธุรกิจเพื่อสังคม… ทางออกใหม่ของวันนี้ ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) หรือ ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneur) คือองค์กรธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่มีการบริหารจัดการในแบบของธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ซึ่งนับวันจะซับซ้อนและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น จนหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคสังคมไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

แล้วความคิดสร้างสรรค์ส าคัญอย่างไร...
ในขณะที่ความรู้และรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสามารถช่วยให้การด าเนินงานธุรกิจเพื่อสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นอีกปัจจัยส าคัญที่น าไปสู่ทางออกและนวัตกรรมใหม่ๆที่เพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหา ตลอดจนสร้างโอกาส ขยายผล ต่อยอดและพัฒนาสิ่งต่างๆได้อย่างไม่รู้จบ

องค์กรสร้างสรรค์เพื่อสังคม iCARE ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จ ากัด เล็งเห็นถึงความส าคัญของความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งหวังที่จะร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น จึงได้ร่วมกับ มูลนิธิอโชก้า ประเทศไทย สถาบัน Change Fusion ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส านักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC) และ นิตยสาร BE Magazine จัดโครงการ “iCARE Award 2010 (Innovation World’s CARE Award) : ฉลาดแกมดี! Creative Social Business Contest” ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การวิจัยและพัฒนา แผนการตลาด การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และประชาชนทั่วไป ได้มีเวทีน าเสนอความคิดสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนงานเพื่อสังคมให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งนอกจากผู้เข้าประกวดจะได้พัฒนาศักยภาพของตน ผ่านกระบวนการคิด การอบรมเสวนา พร้อมด้วยค าแนะน าจากวิทยากรและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการแล้ว ผู้เข้าประกวดที่ผ่านการคัดเลือกยังจะได้รับโอกาสในการน าแผนงานของตนไปลงมือปฏิบัติจริงกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมในประเทศไทย ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจากคณะผู้จัดงาน อันจะเป็นการกระตุ้นแรงบันดาลใจในการคิดสร้างสรรค์ท าความดีๆต่างในเมืองไทยต่อไปในภายภาคหน้า

ที่มา: http://www.icare-club.com/

ชมคลิปวีดิโอและสรุปประเด็นเกี่ยวกับคำว่า "ฉลาดแกมดี"
ให้เลือกโครงการธุรกิจเพื่อสังคมต่อไปนี้มา 5 โครงการ
และวิเคราะห์ถึงความเหมือน ความแตกต่าง ของแผนธุรกิจในแต่ละข้อ และระบุเลือกโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด โดยให้เหตุผลประกอบ
  1. Supreme Case
  2. Thaicraft
  3. Opendream
  4. โรงเรียนรุ่งอรุณ
  5. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
  6. ชิวาร์ลี บิส
  7. บริษัทร่วมทุนชนบท
  8. ป่าใหญ่ ครีเอชั่น
  9. สวนเงินมีมา

Tuesday 1 June 2010

การจัดการออกแบบ (Design Management)

คำอธิบายโดย Akapan Thienthaworn

2073502 การจัดการโครงการออกแบบ 3(3-0-6)
Design Project Management


เป็นการศึกษาหลักการและโครงสร้าง การจัดการและบริหารงานโครงการออกแบบของหน่วยงานและสำนักงานด้านการออกแบบ โดยเฉพาะด้านงานจัดแสดงและนิทรรศการ ฝึกปฏิบัติการกำหนดโครงการและวางแผน การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การควบคุมดูแลโครงการ มาตรการความปลอดภัยต่างๆ การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหาร รวมทั้งการประเมินและตรวจสอบผลงาน

Study the principles and the design project management of a design organization, especially the tasks concerning how to organize events and exhibitions. Students are required to propose a project and plan for the human resources management and budget administration; to monitor the project, its security measures, information system for management, as well as to evaluate and verify the work. (Thienthaworn, 2007, p. 58)

การจัดการออกแบบ คงไม่ใช่สาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจงนัก ในการจัดประเภทของการออกแบบโดย กอร์บ (Gorb, 1976) ได้แบ่งสาขาวิชาการออกแบบเป็น 3 ลักษณะ ซึ่งการจัดการออกแบบจะมีความเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและครอบคลุมประเภทการออกแบบทั้งหมดดังต่อไปนี้
  1. สินค้าและบริการ 
    (ออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และออกแบบการบริการ)
  2. การสื่อสาร 
    (ออกแบบกราฟฟิก การสร้างแบรนด์ ออกแบบสื่อและเว็บไซต์)
  3. สภาพแวดล้อม (ออกแบบร้านค้า ออกแบบนิทรรศการ และออกแบบภายใน)
การจัดการออกแบบ คงหนีไม่พ้นเรื่องของการบริหารองค์กรและการจัดการผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการออกแบบขององค์กรและตลาด โดยมีหน้าที่ 3 ลักษณะดังนี้
  1. กำหนดกลยุทธ์การออกแบบสำหรับองค์กรและ/หรือแบรนด์
  2. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลผลิตทั้งหมดในแต่ละประเภทของการออกแบบ
  3. สร้างสรรค์วิธีการสร้างความประทับใจของลูกค้าที่แตกต่างจากคู่แข่ง
อกสารอ้างอิง:
Thienthaworn, A. (2010). Design project management. n.p.
---------------------. (2007). Event & exhibition design curriculum: course description. n.p.