Monday 21 September 2009

Pecha Kucha* (ペチャクチャ)

*Pecha Kucha เพะชะคุชะ เป็นคำจำลองเสียงพูดคุย (chit-chat) ของชาวญี่ปุ่น ส่วน เพะชะคุชะไนท์ (Pecha Kucha Night) คือค่ำคืนที่ผู้คนจากสารพัดวงการพกพาไอเดียสร้างสรรค์ของตนมาบอกเล่าสู่กัน ฟังอย่างสนุกสนาน ในบรรยากาศแบบปาร์ตี้ ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างคนดังกับโนเนม, มืออาชีพกับมือสมัครเล่น, ผู้ใหญ่กับเด็ก, อาจารย์กับศิษย์, รุ่นเก๋ากับรุ่นใหม่แกะกล่อง ฯลฯ

เป็นงานที่มีแนวคิดเป็นเอกลักษณ์ (ซึ่งผ่านการทดสอบมาแล้วว่าเวิร์ค)
คือ “20x20” อันหมายถึง + การพรีเซนต์ไอเดียจะเริ่มต้นเวลา 20.20 นาฬิกา + มีผู้ขึ้นโชว์ไอเดียบนเวที 20 คน + แต่ละคน จะโชว์ไอเดียผ่านภาพสไลด์ 20 ภาพ + แต่ละภาพ มีเวลาปรากฏตัวบนจอ (โดยเจ้าของไอเดียยืนอธิบายประกอบไปด้วย) ภาพละ 20 วินาที + รวมเวลาเล่าไอเดียของแต่ละคนคือ 6 นาที 40 วินาที เมื่อครบเวลาแล้ว คนต่อไปจะขึ้นมาเล่าผลงานของตนต่อทันที + ผลงานที่ว่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และเป็นงานของตัวคุณเอง เช่น “20 งานออกแบบลายผ้าที่คุณภูมิใจแต่ยังไม่เคยโชว์ใครมาก่อน”, “20 ภาพถ่ายคลื่นทะเลในมุมที่คุณคิดขึ้นเอง”, “20 งานศิลปะที่เคยไปโชว์ต่างประเทศแต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้โชว์ในประเทศไทย”, “20 วิธีที่คุณคิดว่าจะช่วยให้คนไทยใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอย่างมีความสุขมากขึ้น”, “20 ขั้นตอนกว่าจะได้มาซึ่งหนังทดลองเรื่องนี้”, “20 โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่คุณทดลองคิด”, “20 ดีไซน์เก้าอี้ที่คุณสร้างสรรค์ขึ้นและสุดภูมิใจ”, “20 สิ่งประดิษฐ์ที่คุณคิดค้นไว้แต่ยังไม่มีโอกาสพัฒนาให้เป็นของจริง”, “20 ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว”, ฯลฯ โดยไม่จำกัดด้วยว่าจะต้องเป็นงานในแนวทางเดียวกับวิชาชีพตามปกติของคุณ

Pecha Kucha Nights: Guide to Better Presentations Skills
โดย Paul Baron
เรียบเรียงโดย Akapan Thienthaworn

เตรียมตัวให้พร้อม + หัวข้อ / เลือกผลงานที่เคยทำมานำเสนอ แต่อาจไม่จำเป็น บางครั้งผู้ฟังจะสนใจเรื่องที่อยู่นอกเหนือจากงานที่คุณทำ เช่น รูปถ่ายธรรมดาๆ แต่สามารถนำเสนอได้อย่างจับใจ + เล่าเรื่อง / แม้ว่าการนำเสนอผลงานประกอบคำบรรยายภาพจะดูราบรื่น แต่ไม่ควรอธิบายเพียงสิ่งที่อยู่บนจอภาพ ควรพูดถึงที่มาของกระบวนการคิด ปัญหาข้อผิดพลาด และความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ฟังสนใจทั้งงานของคุณและตัวคุณด้วย + ให้เวลาเตรียมตัว / การนำเสนอต้องใช้เวลาเตรียมตัวสิ่งต่างๆอันได้แก่ เลือกหัวข้อ จัดทำสื่อและจัดหาอุปกรณ์ เขียนบทพูด รวมทั้งฝึกจังหวะและความเร็วในการพูด ควรใช้เวลาเตรียมตัวอย่างน้อย 2-3 วัน
วันซ้อม + ฝึกซ้อม / เมื่อทำสื่อเพื่อการนำเสนอเสร็จ ไม่ได้หมายความว่าคุณนั้นพร้อมที่จะนำเสนอ ดังนั้นจงซ้อมจนกระทั่งสามารถควบคุมจังหวะเและวลาได้และไม่รู้สึกเกร็ง - ลองหาหนูทดลองมาฟังคุณซ้อม อาจชวนเพื่อนหรือคนที่ไม่รู้จักมาฟังจะดีมาก - ยืนพูด - ให้ความสำคัญกับลักษณะท่าทางและเสียงพูดของคุณ ดูว่ายังพูดตะกุกตะกัก เกร็ง หรือน่าเบื่อหรือไม่? - ลองจินตนาการว่าอยู่ท่ามกลางผู้ฟังทั้งหลาย ดูว่าคุณรู้สึกสนุกกับการนำเสนอหรือยัง? ถ้ายัง ให้หาวิธีทำอะไรก็ตามให้งานของคุณทำให้คุณตื่นเต้นได้
วันจริง + พูดทักทาย / กล่าว "สวัสดี" แนะนำตนเอง คุณเป็นใคร มาจากไหน จะนำเสนออะไร สั้นๆ + พูดคุย - Pecha Kucha เพะชะคุชะ หมายถึงเสียงพูดคุย (chit-chat) ในภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นทุกๆภาพบนหน้าจอจำเป็นต้องมีคำอธิบาย อย่าหยุดนิ่งเงียบ ผู้ฟังตั้งใจมาฟังคุณ ไม่ได้จะจ้องดูแต่หน้าจอ - พูดดังๆ! ถ้ามีคนฟังหลับ พวกเขาก็จะตื่น ยกเว้นว่าจะมีเสียงบอกให้เบาๆหน่อย - พูดใส่ไมค์ เมื่อคุณเคลื่อนที่ไปมา ไมค์ก็จะตามคุณไป แต่เวลาคุณหันไปอธิบายงาน ไมค์ไม่ได้หันตามคุณ ผู้ฟังจะไม่ได้ยินคุณ - พักหายใจบ้าง ผู้ฟังจำเป็นต้องทำความเข้าใจงานคุณ อย่าพูดเร็วเกินไป เว้นวรรคตอนบ้าง - พูดโดยใช้ภาษาให้ถูกต้องและชัดเจน - ควบคุมการพูดให้ตรงตามภาพ แต่ถ้าพูดไม่ทันหรือรู้สึกอึดอัดเกินไป ควรพักและเริ่มภาพต่อไป + ภาษากาย / ใช้วิธีสนทนากับผู้ฟัง ไม่ใช่ก้มคุยกับรองเท้า ไม่ใช่เงยหน้าคุยกับจอภาพหรือผนัง ไม่ใช่ก้มหน้าดูบท หรือพูดกับผู้ฟังแถวหน้า ยิ้มเข้าไว้ สบตา คุยกับทุกๆคน + อดทน / การบรรยาย 1 ภาพอาจดูสั้น แต่รวมทุกภาพอาจดูนาน น่าเบื่อ ดังนั้นควรให้ความสนใจในทุกๆภาพ + พูดปิดท้าย - กล่าว "ขอบคุณ" - ให้ข้อมูลเพิ่มเติม - สุดท้ายพูดอะไรก็ได้ให้ผู้ฟังประทับใจ

คุณสมบัติของผู้นำเสนอที่ดี
โดย สมิต สัชฌุกร

คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เชื่อถือ และการยอมรับได้มาก เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ ผู้นำเสนอที่ประสพความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. มีบุคลิกดี 2. มีความรู้อย่างถ่องแท้ 3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ 4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 5. มีภาพลักษณ์ที่ดี 6. มีน้ำเสียงชัดเจน 7. มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ 8. มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ 9. มีความช่างสังเกต 10. มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://en.wikipedia.org/wiki/Pecha_Kucha
http://thunska.exteen.com/20061119/pecha-kucha-night-in-bangkok
http://molecularck.com/category/hot-tags/pecha-kucha-night
http://1812.exteen.com/20061120/pecha-kucha-bangkok-vol-1
http://www.tcdc.or.th/downloads/Pecha-Kucha.pdf
http://www.aqworks.com/2007/07/03/pecha-kucha-nights-guide-to-better-presentations-skills
http://www.tpa.or.th/writer

Monday 7 September 2009

I am a Thai Graphic Designer™

โครงการ “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย (I am a Thai Graphic Designer)” เป็นโครงการที่ต้องการรวบรวมภาพถ่ายนักออกแบบกราฟิกไทยทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและทำงานหรือศึกษาต่ออยู่ที่ต่างประเทศให้มากที่สุด โดยภาพถ่ายเหล่านั้นจะเป็นภาพถ่ายของนักออกแบบแต่ละคนที่ถือแผ่นกระดาษ A3 ที่มีผลงานออกแบบตัวอักษรคำว่า “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” หรือ “I am a Thai Graphic Designer” โดยรูปแบบของผลงานนั้นขึ้นอยู่กับความคิดของนักออกแบบเจ้าของงาน ซึ่งเป็นโครงการที่นำเสนอตัวตนและการมีอยู่ของนักออกแบบกราฟิกไทยและสื่อสารออกไปว่าวิชาชีพนี้มีสังคมที่แข็งแรง และพร้อมที่จะเปล่งเสียงออกมาให้สังคมรวมได้รับรู้ถึงความพร้อมของเครือข่ายนักออกแบบกราฟิกด้วยกันเอง ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาชีพเพื่อเป็นกำลังสำคัญหนึ่งของสังคมต่อไป

“กราฟิกดีไซน์ คืออะไร?” และ “นักออกแบบกราฟิกคือใคร?”ปัจจุบันมีนักออกแบบกราฟิกมากมายในสังคม กระจายอยู่ในองค์กร กลุ่ม สถาบันหรือทำงานตามลำพัง รวมไปถึงทัศนคติทางการออกแบบ รูปแบบการทำงาน สื่อที่ใช้ล้วนแล้วแต่มีความหลากหลายอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางโครงการสนใจที่จะรวบรวมมุมมองหรือนิยาม (ที่มีเสรีภาพและปราศจากการตัดสินคุณภาพ) จากคำถามกว้างๆ เพื่อเป็นการรวบรวมและสะท้อนให้เห็นความหลากหลายนั้น อันจะก่อให้เกิดการร่วมกันมองเห็นภาพรวมของวิชาชีพนี้ได้ชัดเจนขึ้น

ที่มา: (http://www.iamathaigraphicdesigner.com/)

ขอเชิญชวนให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “กราฟิกดีไซน์ คืออะไร?” และ “นักออกแบบกราฟิกคือใคร?”